เด็กทุกคน
มีสิทธิได้รับ
ความคุ้มครองตามกฎหมาย

ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ เด็กทุกคน รวมทั้งเด็กที่เกิดจากผู้อพยพกรณีไม่ปกติ จะต้องมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนการเกิด แต่ในทางปฏิบัติ มีปัญหาหลายอย่างในการนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวสู่การปฏิบัติ ทำให้เด็กอีกจำนวนมากเป็นคนไร้สัญชาติ

legal_status

ข้อ 7 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ระบุว่า :

“เด็กต้องได้รับการจดทะเบียนทันทีเมื่อเกิด และมีสิทธิได้รับชื่อและสัญชาติ และรู้จักและได้รับการดูแลโดยบิดามารดาของตน รัฐต้องทำให้แน่ใจว่ามีการดำเนินการตามสิทธิโดยเป็นไปตามกฎหมายของประเทศและความผูกพันของตนภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีหากไม่มีการดำเนินการดังกล่าว เด็กอาจจะกลายเป็นคนไร้สัญชาติ”

ภาพรวมของประเทศไทย

“ในประเทศไทย แม้ว่าจะไม่ทราบตัวเลขจริง ๆ แต่เชื่อกันว่ามีเด็กมากกว่าหนึ่งล้านคนเกิดในแผ่นดินไทย ทั้งจากคนไทยหรือคนต่างด้าว เช่น เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา ยังคงไม่ได้รับการจดทะเบียน เหตุผลว่าทำไมพ่อแม่จึงไม่ได้ไปจดทะเบียนการเกิดบุตรของตน เช่น ไม่ทราบถึงความสำคัญของการจดทะเบียนการเกิด ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปจดทะเบียนเด็กเกิดใหม่ ระยะทางไกลจากสำนักงานทะเบียน มีอุปสรรคด้านกฎหมาย สังคม และวัฒนาธรรม และสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นส่วนใหญ่ กลัวว่าจะถูกจับได้จากการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ประเทศไทยเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กปี 2532 อย่างไรก็ดี ได้ระบุข้อสงวนตามอนุสัญญาดังกล่าวขณะให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาในปี 2535

โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ระบุข้อสงวนสำหรับข้อ 7 และข้อ 22 ของอนุสัญญา ซึ่งประกันสิทธิในเรื่องการจดทะเบียนหลังจากการเกิดและสถานะทางกฎหมายของเด็กที่เกิดในประเทศไทยที่บิดามารดาไม่ใช่คนไทย ดังนั้น การจดทะเบียนการเกิดสำหรับเด็กทุกคนเป็นประเด็นอ่อนไหวด้านความมั่นคงของประเทศซึ่งมีไม่กี่คนที่อยากจะยุ่งเกี่ยวในประเด็นนี้เว้นแต่สภาทนายความแห่งประเทศไทยและเอ็นจีโอที่ทำงานในเรื่องสิทธิของผู้อพยพย้ายถิ่น แม้แต่เด็กที่เกิดจากบิดามารดาที่เป็นคนไทยทั้งคู่ รัฐก็ยึดถือตามแนวทางไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว จึงแทบไม่ได้ดำเนินการใดเพื่อสนับสนุนหรือเพื่อให้แน่ใจว่ามีการจดทะเบียนการเกิดเด็กแต่ละคน ผลคือยังมีเด็กไทยอีกจำนวนมากที่ถูกพรากสิทธิในการมีเอกสารรับรองดังกล่าว

งานของ มูลนิธิสายเด็ก 1387 คือเพื่อช่วยเหลือเด็กให้ได้รับสถานะทางกฎหมาย เมื่อได้รับโทรศัพท์จากหรือแจ้งเกี่ยวกับเด็กไทยที่ไม่มีสถานะทางกฎหมาย มูลนิธิสายเด็ก 1387 จะประเมินข้อมูลหลักฐานที่มีทั้งหมด และพิจารณาหาหนทางที่ดีที่สุดเพื่อดำเนินการ กรณีดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการและการตรวจสอบของฝ่ายราชการที่ซับซ้อนยาวนาน บางครั้งอาจต้องมีการทดสอบดีเอ็นเอ มูลนิธิสายเด็ก คอยติดตามตรวจสอบทุกขั้นตอนของคดีอย่างใกล้ชิดจนกว่าเด็กจะได้รับการรับรองสิทธิตามกฎหมายอย่างเต็มที่ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งในสังคม กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กที่อพยพย้ายถิ่นปกติจะต้องอาศัยแนวทางต่างกันในแต่ละช่วงเวลาและต้องมีการประเมินโดยขึ้นกับท้องถิ่นและชุมชนในแต่ละที่ที่เด็กนั้นอยู่และโดยทั่วไปกระบวนการจะยุ่งยากมากกว่าเด็กไทยตามปกติ